ทศวรรษที่ 2 (พ.ศ. 2519-2528) ของ สถาบันธัญญารักษ์

พ.ศ. 2520 ได้เปิดบริการคลินิกถอนพิษยานอกโดยให้ผู้ป่วยที่ติดเฮโรอีนรับการรักษาแบบไป – กลับ รับประทานยาวันละ 1 ครั้ง นาน 21 วัน ส่วนผู้ป่วยที่ติดยาเสพติดชนิดอื่น ให้ซื้อยาไปรับประทานที่บ้านได้โดยใช้สถานที่ทำการที่ตึกอำนวยการ

พ.ศ. 2523 ได้เปิดบริการรับผู้ป่วยยาเสพติดหญิง 1 ตึก จำนวน 50 เตียง

พ.ศ. 2524 สร้างโรงงานอาชีวบำบัดใหม่ เพื่อให้บริการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยด้วยวิธีฝึกทักษะอาชีพต่างๆ

ในปี พ.ศ 2528 ได้พัฒนาการฟื้นฟูสมรรถภาพในรูปแบบชุมชนบำบัด โดยเริ่มดำเนินการในโครงการสนับสนุนของ UNDAF โดยความร่วมมือจากมูลนิธิยูเนสเวด ประเทศสวีเดน ให้ข้าราชการและเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลธัญญารักษ์ ไปศึกษาดูงานการบำบัดรักษายาเสพติดที่ประเทศสวีเดน พร้อมทั้งส่งเจ้าหน้าที่มูลนิธิยูนิสเวดมาร่วมดำเนินการให้คำปรึกษาในการบำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติด รูปแบบชุมชนบำบัด (Therapeutic Community, หรือTC)

คณะเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลธัญญารักษ์ได้กลับจากประเทศสวีเดนได้จัดตั้ง “ศูนย์ชุมชนบำบัดธัญญารักษ์” (Thanyarak Therapeutic Community Center) ขึ้นในบริเวณโรงพยาบาลธัญญารักษ์ โดยทำการปรับปรุงซ่อมแซมอาคารสถานที่ และสามารถเริ่มเปิดชุมชนบำบัด เมื่อวันที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2529

ใกล้เคียง

สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง สถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย สถาบันอุดมศึกษาในกำกับของรัฐ สถาบันการบินพลเรือน สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีปทุมวัน สถาบันพระบรมราชชนก สถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์